วิสัยทัศน์ รพ.ค่ายสุรนารี : เป็นผู้นำการบริการสุขภาพ ระดับทุติยภูมิ ระดับประเทศในปี 2555    ค่านิยม : 1. ทำงานเป็นทีม (Team work) 2. มุ่งเน้นผู้ใช้บริการ(Customer Focus) 3. เรียนรู้ตลอดชีวิต (Life - long  Learning) 4. พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI)

หน้าแรก ประวัติ รพ.ค่ายสุรนารี คณะผู้บริหาร รพ.ค่ายุรนารี ติดต่อ เวบบอร์ด
 
ข้อมูลทั่วไป
ภารกิจ
วิสัยทัศน์-พันธกิจ-ค่านิยม
ทำเนียบผู้บริหาร
สัญลักษณ์ประจำ รพ.
แผนที่ รพ.
ประวัติความเป็นมา   (ต่อ)
            ปี ๒๔๕๘ กองพยาบาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองพยาบาลในกองพลทหารบกที่ ๕ และได้ยุบเลิกนักเรียนนายสิบ และได้เปิดอบรมพยาบาลขึ้นแทน โดยกำหนดการสอนเป็น ๔ ภาค เป็น ส. ต. กองประจำการ

             ปี ๒๔๕๙ ปีนี้ได้เกิดโรคระบาดของกาฬโรคในจังหวัดนครราชสีมา มีราษฎรเสียชีวิตมากมาย และได้ระบาด เข้ามาในโรงทหารด้วย ทางการจึงได้แยกย้ายทหารไปอยู่ตามวัด และหมู่บ้านต่าง ๆ เป็นเวลานาน ๕ เดือน จึงได้กลับเข้าที่ตั้งเพราะโรคสงบ

             ปี ๒๔๖๐ ผบ. กองพลทหารบกที่ ๕ ได้ย้ายไปราชบุรี และ พ. อ. พระยารามจตุรงค์ ย้ายมาแทน และ พ. ต. หลวงเวชชสิทธิ์ นิระภัย ผบ. กองพยาบาลก็ได้ย้ายไปรับการศึกษาโรงเรียนแพทย์ทหารบกด้วย ส่วน ผบ. กองพยาบาลคนใหม่ ได้แก่ ร. อ. อ่วน ปานสมุท ( พ. อ. พระพิทักษ์อาพาธพล) มีนายแพทย์เพิ่มขึ้น คือ ร. ท.นาค รักษ์พลเมือง ( พ. อ. หลวงศัลยกรรมโกวิท) การรักษาพยาบาลในปีนี้ยังคงใช้การรักษาพยาบาลทั้งทางแผนปัจจุบัน และแผนโบราณรวมกันอยู่ และปีนี้เองกรมแพทย์ทหารบกก็ได้เปิดรับสมัครนายสิบเข้าเป็นนักเรียนนายดาบแพทย์ประเภท ๒ กองพยาบาลจึงได้คัดเลือกส่งคือ แพทย์ได้แก่ ส. ท. ใหญ่ คชรัตน์ ( ร. ท. ขุนอุดม เวชศาสตร์) ทันตแพทย์ ส. ท. พรม บุรงพล แต่อีกคนหนึ่งเรียนไม่สำเร็จ

             ปี ๒๔๖๓ กิจการในปีนี้ การรักษาพยาบาลนับว่าดีขึ้น เพราะมีทั้งแพทย์ทันตแพทย์ย้ายมาเพิ่มเติมอีก และมีทหารเหล่าราบย้ายมาเป็นนายทหารคนสนิทอีกในปีนี้ แทนการที่ใช้นายสิบมาก่อน นอกจากนั้นยังได้เปิดรับทหารเจ็บไข้ของทหารอากาศจาก บน. ๓ ขึ้นอีก ด้านการฝึกได้ทำการฝึกพลพยาบาลสำรองและพลเปลเพิ่มขึ้นอีก ได้ทหารมาจากกองรบกองร้อยละ ๔ คน และในปีนี้ได้ขุดสระขนาดใหญ่ขึ้นอีกแห่งบริเวณที่ติดกับโรงหุงต้มปัจจุบันนี้ใช้เป็นที่พักของทหารสูทกรรม

             ปี ๒๔๖๕ ผบ. กองพยาบาลได้เลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็น พ. ต. หลวงอาพาธพลพิทักษ์ และได้ย้ายไปประจำกรมแพทย์สุขาภิบาลและ
พ. ท. พระณรงค์บริรักษ์ ได้ย้ายมาแทน และในปีนี้ ผบ. กองพลได้อนุมัติให้สร้างห้องผ่าตัดขึ้น ซึ่งได้ใช้ราชการเรื่อยมาเพิ่งจะรื้อถอนไปเมื่อ ๐๒ นี้ เพราะสิ่งประกอบต่าง ๆ พุพังมาก และนอกจากนั้นยังสร้างเรือนพักผู้ป่วยเป็นกามโรคขึ้น เรียกว่า เรือน ๖ ขณะนี้รื้อไปแล้วและโรงที่พักทหาร ๑ โรงซึ่งขณะนี้จวนจะพังแล้ว แต่ไม่สามารถจะรื้อได้ เพราะไม่มีที่ให้ทหารอยู่ นอกจากนั้นยังสร้างโรงจ่ายยาขึ้นที่หลังผ่าตัด โดยรวมหน้าที่พยาธิ, ห้องตรวจโรคอยู่ด้วยกัน โรงนี้ได้รื้อถอนไปแล้วเมื่อปี ๙๐

             ปี ๒๔๖๖ ได้เปลี่ยนนายทหารคนสนิทจากเหล่าพลราบมาเป็นเหล่าแพทย์ โดยย้าย ร. ท. เผื่อน บุณฑริก ไป และย้าย ร. ท. สมบูรณ์
( หลวงพินิจ โรคากรณ์) มาแทน

             ปี ๒๔๖๘ ได้เปลี่ยนชื่อกองพยาบาลในกองพลทหารบกที่ ๕ มาเป็นกองเสนารักษ์ ในกองพลทหารบกที่ ๕ และเปลี่ยนตำแหน่งพลเปลและพลพยาบาลเป็นพลเสนารักษ์ ปีนี้ได้สร้างโรงรักษาคนไข้อาการหนักขึ้น ส่วนโรงคนไข้อาการหนักเดิมเป็นโรงคนไข้โรคติดต่อ โรงที่สร้างขึ้นใหม่ได้มาจากการรื้อถอนจาก ร. ๑๕ พัน. ๒ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งขณะนี้โรงนี้ได้รื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่ เป็นที่อยู่ของ ร้อย. สร. ผส. ๓ เดี๋ยวนี้

             ปี ๒๔๖๙ ปีนี้การรักษาพยาบาลได้เปลี่ยนมาใช้แผนปัจจุบันทั้งหมด เลิกกิจการทางแผนโบราณทั้งสิ้น

             ปี ๒๔๗๐ พ. ต. พระณรงค์บริรักษ์ ผบ. กองเสนารักษ์ได้ออกจากราชการ และย้าย ร. อ. หลวงวินิจเวชชการมาแทน การก่อสร้างไม่มี แต่การรักษาพยาบาลได้ปรับปรุงแบ่งแผนกันใหม่คือ
             ๑. แผนกอายุรกรรม ใช้เรือน ๑ เป็นที่รักษาพยาบาล โดยมี หน. อายุรแพทย์เป็นหัวหน้า โดยควบคุมไปถึงเรือน ๕ และเรือน ๖ ด้วย
             ๒. แผนกศัลยกรรม มี หน. ศัลยแพทย์เป็นหัวหน้า คนไข้รับไว้ที่เรือน ๒ มีหน้าที่รักษาทางผ่าตัด, บาดแผล และกามโรค ( เรือน ๔) ด้วย
             ๓. แผนกเภสัชกรรม มีเภสัชกรเป็นผู้รับผิดชอบ แผนกทันตกรรม, แผนกพยาธิ ๓ แผนกนี้รวมกันอยู่ในแห่งเดียวกัน และมี หน. แต่ละแผนกเป็นผู้รับผิดชอบ
             ๔. หมวดการศึกษา มีนายทหารคนสนิท ผบ. สร. เป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกสอน
             ๕. กองบังคับการ ใช้หลังเดิมที่พ่อค้าบริจาคให้ คือ บก. รพ. ค่ายสุรนารี เดี๋ยวนี้

             ปี ๒๔๗๕ ผบ. กอง สร. เลื่อนยศเป็น พ. ท. แล้วย้ายไปเป็นรองนายแพทย์ใหญ่ทหารบก และย้าย พ. ท. พระวโรสถประสิทธิ์ มาแทน
การรักษาพยาบาลระยะนี้อยู่ระดับเดิม

             ปี ๒๔๗๖ ผบ. กอง สร. ออกจากราชการ พ. ต. หลวงสิทธิ์การโภษัชย์ ย้ายมาแทน ปีนี้ได้ยุบตำแหน่งสมุห์บัญชี และได้เปลี่ยนกองเสนารักษ์ในกองพลทหารบกที่ ๕ มาเป็นกองเสนารักษ์มณฑลที่ ๓ และปีนี้ พ. ท. พระเริงรุกปัจจามิตร ผบ. มทบ. ๓ ได้ถึงแก่กรรม พ. ท. หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ ( จอมพลผิน ขุณหวัณ)เป็น ผบ. มทบ. ๓ แทน

             ปี ๒๔๘๑ ได้สร้างตึกเอกซเรย์ขึ้น ๑ หลัง และเรือนสำหรับคลอดบุตรอีก ๑ หลัง เงินสร้างตึกเอกซเรย์ได้มาจากค่าเศษอาหาร และ ผบ. มทบ. ๓ ได้บอกบุญเรี่ยรายจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ทุกจังหวัดทั่วภาคอีสาน ทั้งนี้รวมทั้งซื้อเครื่องเอกซเรย์ด้วย นอกจากนั้นยังสร้างถงน้ำพญานาคขึ้นที่หน้า บก. สร. ๒ ถัง โดยเป็นของทหารในนครราชสีมา ๑ ถัง พระชนูประการกิจ ๑ ในระยะนี้การรักษาพยาบาล นับว่าเจริญรุดหน้าไปมาก ประชาชนภาคนี้นิยมมาขอรับการรักษามากที่สุด

             ปี ๒๔๘๒ มีนายแพทย์ย้ายมาเพิ่มอีก และในปีนี้ได้เปิดตึกเอกซเรย์ และเรือนคนไข้ทางสูตินารี

             ปี ๒๔๘๓ พ. ท. หลวงสิทธิการโภสัชย์ ผบ. สร. ได้ย้ายไปเป็นรอง พญ. ทบ. ย้าย พ. ต. หลวงราชยาคม มาแทน กิจการรักษาพยาบาลปีนี้นับว่าขลุกขลักมาก เกี่ยวกับเกิดกรณีพิพาทกับอินโดจีน แพทย์จึงไปราชการเกือบหมด

             ปี ๒๔๘๔ พ. ท. หลวงราชแพทยาคมย้ายไปเป็น รอง ผอ. รพ. อานันทมหิดล ทางราชการจึงได้เลื่อน พ. ต. ขุนถนอมนิติเวช ( ปัจจุบัน พล. ต. ถนอมอุปถัมภานนท์ พญ. ทบ.) ขึ้นเป็น ผบ. สร. มณฑล ๓ และในปีนี้มีนายแพทย์ปริญญาย้ายมาใหม่ ๒ ท่าน คือ พ. ต. พัฒน์ วงษ์สนิท และ พ. ต. ชิน เสริบุตร เนื่องจากเป็นราชการสงครามนายแพทย์จึงได้ไปสนามหมด และปีนี้ได้เปิดรับนางพยาบาลขึ้น ๑ คน

             ปี ๒๔๘๙ พ. ต. ถนอม อุปถัมภานนท์ ผบ. สร. มณฑล ๓ ย้ายไปเป็น ผอ. รพ. ทหารบก พ. ท. ใหญ่ ชุณหนันท์ พยาธิแพทย์ ขึ้นเป็น ผบ. สร. มณฑล ๓ แทน

             ปี ๒๔๙๐ เนื่องจากเรือนโรงอาคารต่าง ๆ ซึ่งชำรุดมากจึงได้ทำการรื้อถอน และไปสร้างใหม่ทางด้านทิศเหนือเรือน ๑ ซึ่งใช้อยู่เท่าที่ทุกวันนี้ และมาแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๔๙๒ เรียกว่าเรือนเภสัชกรรม และตั้ง รร. พล. เสนารักษ์ขึ้น

             ปี ๒๔๙๓ กอง. สร. มณฑล ๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลภาคที่ ๒ และไปขึ้นการบังคับบัญชากับภาคทหารบกที่ ๒ และมีหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก คือ แผนกคลังเวชชูปกรณ์ และ มว. สูทกรรม ทำการประกอบอาหารเลี้ยงทหารเอง ซึ่งแต่เดิมมาเป็นหน้าที่ของ กก. มทบ. ๓ มาทำการหุงต้มให้ และในปีนี้ พ. ท. ใหญ่ ชุณหนันท์ ผบ. สร. มทบ. ๓ ย้ายไปเป็น พญ. กองทัพภาคที่ ๑ และ พ. ท. ประสิทธิ์ สักการเวช ผบ. สร. มทบ. ๒
 
<< ย้อนกลับ  
 
   © 2009 Fort Suranari Hospital